อำนาจหน้าที่ของสภาเทศบาล ตามพระราชบัญญัติเทศบาล พ.ศ. 2496 แก้ไขเพิ่มเติมถึง ฉบับที่ 13 พ.ศ.2552 โดยสรุป มีดังนี้.-
– เลือกประธานสภาเทศบาล และรองประธานสภาเทศบาล เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดแต่งตั้งหรือมีมติให้ประธานสภาเทศบาล หรือรองประธานสภาเทศบาลพ้นจากตำแหน่ง มีมติเลือกเลขานุการสภาเทศบาล
– เลือกสมาชิกสภาเทศบาล? ตั้งเป็นคณะกรรมการสามัญของสภาเทศบาล และเลือกตั้งบุคคลผู้เป็นหรือมิได้เป็นสมาชิกสภาเทศบาล ตั้งเป็นคณะกรรมการวิสามัญของสภาเทศบาล
-รับทราบนโยบายของนายกเทศมนตรี ก่อนนายกเทศมนตรีเข้ารับหน้าที่และรับทราบรายงาน
การแสดงผลการปฏิบัติงานตามนโยบายที่นายกเทศมนตรีได้แถลงไว้ต่อสภาเทศบาลเป็นประจำทุกปี
-? เห็นชอบร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาและแผนพัฒนาสามปีของเทศบาล
-? ให้ความเห็นชอบการตราข้อบัญญัติท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นข้อบังคับในท้องถิ่นและให้ความเห็นชอบ
ร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี ,ร่างเทศบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
-? ในที่ประชุมสภาเทศบาล? สมาชิกสภาเทศบาลมีสิทธิ์ตั้งกระทู้ถามนายกเทศมนตรี หรือ
รองนายกเทศมนตรี , เสนอญัตติขอเปิดอภิปรายทั่วไป โดยไม่มีการลงมติ
-? ในกรณีกิจการอื่นใด? อาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสียของเทศบาล หรือประชาชนในท้องถิ่น สมาชิกสภาเทศบาลจำนวนไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกเท่าที่มีอยู่ หรือนายกเทศมนตรีสามารถเสนอต่อประธานสภาเทศบาล เพื่อให้มีการออกเสียงประชามติได้ และประกาศให้ประชาชนทราบผู้มีสิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล ย่อมมีสิทธิออกเสียงประชามติ การออกเสียงประชามตินี้ให้มีผลเป็นเพียง
การให้คำปรึกษาแก่สมาชิกสภาเทศบาล หรือนายกเทศมนตรีในเรื่องนั้น
– หน้าที่อื่นๆ? เช่น ร่วมเป็นคณะกรรมการแผนพัฒนาเทศบาล? คณะกรรมการประเมินผลและติดตามแผนพัฒนาเทศบาล? คณะกรรมการจริยธรรมของข้าราชการการเมืองท้องถิ่น ฝ่ายสภาท้องถิ่นและ คณะกรรมการที่หน่วยงานของเทศบาลนครลำปางและส่วนราชการอื่นๆ ขอความร่วมมือ
-แต่งตั้งคณะกรรมการต่างๆ เพื่อดำเนินงานตามแผนยุทธศาสตร์สภาเทศบาลนครลำปาง
พ.ศ.2553-2556? ทำหน้าที่ศึกษา ตรวจสอบประสาน และเสนอแนะแนวทางการดำเนินงานในการ
บริหารกิจการสภาให้เกิดประโยชน์ต่อองค์กรสภาและประชาชนในท้องถิ่น